ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวพิมพ์วิภา นาคปาน รหัส 5681114007

วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 4


คำถามบทที่ 2

 จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง
1. ใครเป็นผู้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก และมีเหตุผลอย่างไร และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา เป็นอย่างไร อธิบาย
ผู้ที่ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับแรก คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปกฯ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ เหตุผลคือ คณะราษฎร์เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยได้กล่าวไว้ว่า บัดนี้การศึกษาสูงขึ้นแล้ว มีข้าราชการประกอบด้วยวุฒิปรีชาในรัฐาภิปาลนโยบายสามารถนำประเทศของตน ในอันที่จะก้าวหน้าไปสู่สากลอารยธรรมแห่งโลกโดยสวัสดีสมควรแล้วที่จะพระราชทานพระบรมวโรกาสให้ข้าราชการและประชาชนของพระองค์ได้มีส่วนมีเสียงตามความเห็นดีเห็นชอบในการจรรโลงประเทศสยามให้วัฒนาการในภายภาคหน้า
ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา คือ หมวด 2 สิทธิและหน้าที่ของชนชาวสยาม มาตรา 14 ภายในบังคับแห่งกฎหมายบุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ภายในร่างกายเคหสถาน ทรัพย์สิน การพูด การเขียน การโฆษณา การศึกษาอบรม การประชุมโดยเปิดเผย การตั้งสมาคม การอาชีพ

2. แนวนโยบายแห่งรัฐในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา ของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2492 ได้กำหนดอย่างไร อธิบาย
  หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
- มาตรา 36 บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการศึกษาอบรม เมื่อการศึกษาอบรมนั้นไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาอบรมและไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรสถานศึกษา สถานศึกษาของรัฐและของเทศบาล ต้องให้ความเสมอภาคแก่บุคคลในการเข้ารับการศึกษาอบรมตามความสามารถของบุคคลนั้น ๆ
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
- มาตรา 53 บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษา ภายในเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ
หมวด 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา
- มาตรา 62 การศึกษาอบรมพึงมีจุดประสงค์ที่จะให้ชนชาวไทยเป็นพลเมืองดีมีร่างกายแข็งแรงและอนามัยสมบูรณ์ มีความรู้ความสามารถที่จะประกอบอาชีพ และมีจิตใจเป็นนักประชาธิปไตย
- มาตรา 63 รัฐพึงส่งเสริมและบำรุงการศึกษาอบรม การจัดระบบการศึกษาอบรมเป็นหน้าที่ของรัฐโดยเฉพาะสถานศึกษาทั้งปวงย่อมอยู่ภายในการควบคุมดูแลของรัฐ การศึกษาอบรมชั้นอุดมศึกษา รัฐพึงจัดการให้สถานศึกษาดา เนินกิจการของตนเองได้ภายในขอบเขตที่กฎหมายบัญญัติ
- มาตรา 64 การศึกษาอบรมชั้นประถมศึกษาในสถานศึกษาของรัฐและของเทศบาลจะต้องจัดให้โดยไม่เก็บค่าเล่าเรียน รัฐพึงช่วยเหลือใหม่อุปกรณ์การศึกษาอบรมตามสมควร
- มาตรา65 รัฐพึงสนับสนุนการค้นคว้าในทางศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์


3. เปรียบเทียบแนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 เหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
 แนวนโยบายแห่งรัฐประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาของรัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2511 พุทธศักราช 2517 และ พุทธศักราช 2521 มีทั้งที่เหมือนกันและแตกต่างกัน
                      -  ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ทั้งสองปี พ.ศ.มีความเหมือนกันในการศึกษาจะส่งเสริมการศึกษาในระดับอุดมศึกษา  รัฐบาลจัดการให้สถานศึกษาจัดกิจกรรมของตนเอง  และการศึกษาระดับประถมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน แต่  ปี พ.ศ.2521 การศึกษาระดับอุมศึกษาจะไม่เก็บค่าเล่าเรียน มีการฝึกอาชีพให้กับนักเรียนเพิ่มเติมอีกด้วย ส่วนระดับประถมไม่ได้พูดถึง
                     -  ทั้ง 3 ปี พ.ศ.จะส่งเสริมในงานวิจัย ด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
                     -  ปีพ.ศ.2521 ส่งเสริมการพัฒนาเยาวชนให้เป็นผู้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ และสติปัญญา แต่ ปี พ.ศ. 2511 และ ปี พ.ศ.2517 ไม่ได้พูดถึง

4. ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2592-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
 ประเด็นที่ 1 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2475-2490 ประเด็นที่ 2 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2492-2517 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาแตกต่างกัน  เช่น
-  ชื่อเรียก : ปีพุทธศักราช 2475-2490 ใช้ชื่อเรียก "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม"
    : ปีพุทธศักราช2492-2517 ใช้ชื่อเรียก"รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย"
-  การปกครอง : ปีพุทธศักราช 2475-2490 เป็นการปกครองจากสมบูรณาสิทธิราชที่มีพระมหากษัตริย์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ และมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศเป็นระบอบประชาธิปไตย ที่มีคณะราษฎร์เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองประเทศ
                : ปีพุทธศักราช2492-2517 ไม่ได้พูดถึงการปกครอง
-  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ : ปีพุทธศักราช 2475-2490  ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ  คือ  พระยามโนปกรณนิติธาดา
               : ปีพุทธศักราช2492-2517   ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ คือ  ศรีธรรมาธิเบศ ประธานวุฒิสภา

5. ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนหรือต่างกันอย่างไร อธิบาย
ประเด็นที่ 3 รัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช 2521-2534 ประเด็นที่ 4 รัฐธรรมนูญฯพุทธศักราช 2540-2550 ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาเหมือนและต่างกัน
             เหมือนกัน : เป็นรัฐธรรมนูญที่เปลี่ยนชื่อมาใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
            ต่างกัน : ปีพุทธศักราช 2521-2534  สภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่งตั้งคณะกรรมาธิการทำหน้าที่ร่างรัฐธรรมนูญ สามวาระ โดยยึดถือแนวทางอันเป็นปณิธานร่วมของปวงชนชาวไทย
: ปีพุทธศักราช 2540-2550 ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
: ปีพุทธศักราช 2521-2534 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ พลอากาศเอก หะรินหงสกุล ประธานสภา นิติแห่งชาติ
: ปีพุทธศักราช 2540-2550 ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานรัฐสภา

6. เหตุใดรัฐธรรมนูญแต่ละฉบับจะต้องระบุในประเด็นที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง อธิบาย
สาเหตุที่รัฐธรรมนูญต้องระบุในประเด็นการศึกษาอย่างเป็นธรรมและทั่วถึง เพราะรัฐธรรมนูญต้องการให้การศึกษาของไทยเป็นไปอย่างมีระบบ และต้องการให้มีการศึกษาที่สอดคล้องกันและมีการบังคับการศึกษาที่แน่นอนเพื่อให้หน่วยงานของรัฐรับผิดชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการศึกษา นี่คือประเด็นที่รัฐธรรมนูญต้องจัดประเด็นการศึกษาอย่างเป็นทางการและมีทุกพุทธศักราชที่พูดเกี่ยวกับการศึกษา

7. เหตุใดรัฐจึงต้องกำหนด บุคคลมีหน้าที่รับการศึกษาอบรมตามเงื่อนไขและวิธีการที่กฎหมายบัญญัติจงอธิบาย หากไม่ปฏิบัติจะเกิดอะไรขึ้น
 เหตุผลที่รัฐบาลต้องกำหนด บุคคลให้มีการศึกษา ก็เพราะ ต้องการให้คนมีการศึกษาพัฒนาตนเอง และต้องการให้มีความรู้เพื่อที่จะประกอบอาชีพและการทำงาน หากรัฐไม่กำหนดบุคคลให้มีการศึกษา ปัญหาที่จะเกิดขึ้นก็คือ ทำให้การศึกษาไทยตกต่ำและมีปัญหาในการทำงานหรือหน่วยงานต่างๆไม่ยอมรับบุคคลที่ขาดความรู้เข้าทำงานในสถานที่ต่างๆหรือพูดเป็นภาษาบ้านๆว่าทำให้คนโง่ หากรัฐไม่กำหนดให้บุคคลมีหน้าที่จะต้องศึกษา

8. การจัดการศึกษาที่เปิดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาหากเราพิจารณารัฐธรรมนูญมีฉบับใดบ้างที่ให้องค์กรส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วม และถ้าเปิดโอกาสให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมมากขึ้นท่านคิดว่าเป็นอย่างไร จงอธิบาย
รัฐธรรมนูญฉบับ พุทธศักราช 2550 ที่ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และการที่เปิดโอกาสให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษานั้นถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นใกล้ชิดประชาชนมากที่สุด และทำให้การศึกษาครอบคลุมมากยิ่งขึ้นมีการกระจายอำนาจและความทั่วถึงของการศึกษาในทุกระดับของประเทศ และ องค์การปกครองส่วนท้องถิ่นจะเข้าใจสภาพปัญหาและเข้าถึงประชาชนในท้องถิ่นได้ง่ายกว่าและง่ายกว่า

9. เหตุใดการจัดการศึกษา รัฐต้องคุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมความเสมอภาคทั้งหญิงและชาย พัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัว และความเข็มแข็งของชุมชน สังเคราะห์ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาส จงอธิบาย
 สาเหตุที่รัฐจะต้องจัดการศึกษาให้คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน ส่งเสริมการศึกษาให้เท่าเทียบกันก็เพราะว่า รัฐต้องการเห็นคนทุกประเภทมีความรู้ความสามารถในทุกระดับโดยไม่ตั้งข้อแบ่งแยกกัน และรัฐต้องสงเคราะห์คนชรา ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพและผู้ด้อยโอกาสให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและพึงตนเองได้

10. ผลการจัดการศึกษาที่ผ่านมาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างไรบ้าง จงอธิบาย

การจัดการศึกษาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีผลต่อการพัฒนาประเทศคือ พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบโดยให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม ประชาชนมีสิทธิเลือกตั้งออกเสียงประชามติเห็นชอบในรัฐธรรมนูญ มีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ ประชาชนได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น ทำให้ประชาชนมีความรู้ความสามารถมากขึ้น ปิดช่องว่างความแต่ต่างระหว่างบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น