ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวพิมพ์วิภา นาคปาน รหัส 5681114007

วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2560

สอบปลายภาควิชากฎหมายการศึกษา


1.   ให้นักศึกษาอธิบาย คำว่า  ศีลธรรม จารีตประเพณี และกฎหมาย เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
            ศีลธรรม คือกฎเกณฑ์ของความประพฤติ ความรู้สึกผิดชอบหรือความดีงามต่าง ๆที่ทำให้คนเราสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้โดยสงบสุข แต่อย่างไรก็ตามขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆอย่าง เช่น เชื้อชาติ ศาสนา สภาพแวดล้อม ฯลฯ ดังนั้นการบัญญัติกฎหมายจึงต้องใช้ศีลธรรมเป็นรากฐาน เพื่อให้เกิดความสงบสุขแก่สังคมให้มากที่สุดนั่นเอง
จารีตประเพณี คือแบบแผนที่คนในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติมาเป็นเวลาช้านาน แต่ละสังคมก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ตามแต่สภาพแวดล้อม ศาสนา เชื้อชาติ ฯลฯ เช่นเดียวกับศีลธรรม การกระทำที่ฝ่าฝืนต่อจารีตประเพณี คนในสังคมนั้น ๆก็จะมองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องไม่สมควรกระทำ จึงนำมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมาย เนื่องจากเป็นสิ่งที่คนในสังคมนั้น ๆยอมรับ ตัวอย่างที่สำคัญก็คือกฎหมายในประเทศอังกฤษนั้น ผู้พิพากษาจะใช้จารีตประเพณีมาพิจารณาพิพากษา ซึ่งคำพิพากษานั้นถือเป็นกฎหมาย ส่วนประเทศอื่น ๆก็มีการนำจารีตประเพณีมาใช้เป็นรากฐานในการบัญญัติกฎหมายเช่นกัน เช่นกฎหมายของประเทศไทยในเรื่องของการหมั้น การแบ่งมรดก ฯลฯ
กฎหมายมีความสัมพันธ์กับจารีตประเพณีหลายประการด้วยกัน ประการแรก กฎหมายและจารีตประเพณีต่างก็เป็นกฎเกณฑ์ที่เป็นระเบียบของสังคมเหมือนกันมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สังคมมีความสุข แต่กฎหมายอาจจะมีลักษณะแตกต่างจากกฎเกณฑ์อื่นอยู่บ้างตรงที่กฎหมายมีโทษที่ค่อนข้างจะรุนแรงและเด็ดขาดกว่าสามารถนำมาใช้บังคับให้เกิดผลที่เป็นรูปธรรมได้ดีกว่า นอกจากนั้นแล้วกฎหมายเป็นกฎเกณฑ์อาจจะไม่สามารถเกิดขึ้นมาเองได้เหมือนกับปรากฎการณ์ธรรมชาติ เช่น ฝนตกแดดออกฟ้าร้องฟ้าผ่า แต่กฎหมายมีจุดกำเนิดที่ช่วยหล่อหลอมให้กฎหมายกลายมาเป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับอยู่ในสังคม จุดกำเนิดหรือที่มาของกฎหมายเหล่านี้ก็คือศีลธรรม ศาสนา และจารีตประเพณี นั่นเอง


2. คำว่าศักดิ์ของกฎหมาย คืออะไร  มีการจัดอย่างไร  โปรดยกตัวอย่าง รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระราชบัญญัติ เทศบัญญัติ พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง
ศักดิ์ของกฎหมาย เป็นการจัดลำดับแห่งค่าบังคับของกฎหมายหรืออาจกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้อำนาจจากองค์กรที่แตกต่างกัน จากประเด็นดังกล่าว พอที่จะกล่าวต่อไปได้อีกว่า ในการจัดลำดับมีการจัดอย่างไร  ซึ่งจะต้องอาศัยหลักว่า กฎหมายหรือ บทบัญญัติใดของกฎหมายที่อยู่ในลำดับที่ต่ำกว่า จะขัดหรือแย้งกับกฎหมายในลำดับที่สูงกว่าไม่ได้ และเราจะพิจารณาอย่างไร โดยพิจารณาจากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย  โดยใช้เหตุผลที่ว่า (1)  การออกกฎหมายโดยฝ่ายนิติบัญญัติ ควรจะเป็นกฎหมายเฉพาะที่สำคัญเป็นการกำหนดหลักการและนโยบายเท่านั้น  เช่น พระราชบัญญัติที่ออกโดยรัฐสภาซึ่งเป็นตัวแทนของปวงชน  (2) การให้รัฐสภา เป็นการทุ่นเวลา และทันต่อความต้องการและความจำเป็นของสังคม  (3) ฝ่ายบริหารหรือองค์กรอื่นจะออกกฎหมายลูกจะต้องอยู่ในกรอบของหลักการและนโยบายในกฎหมายหลักฉบับนั้น   
ตัวอย่างเช่น พระราชกฤษฎีกา คือ บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนด เพื่อใช้ในการบริหารราชการแผ่นดิน โดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี มีศักดิ์ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมาย และพระราชกำหนด การตราพระราชกฤษฎีกา รัฐมนตรีซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องจะอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดนั้น ๆ เสนอร่างพระราชกฤษฎีกาต่อคณะรัฐมนตรีให้พิจารณา โดยร่างพระราชกฤษฎีกานั้น จะต้องไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ หรือพระราชกำหนดที่เกี่ยวข้อง เมื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว จะต้องนำร่างพระราชกฤษฎีกา ขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระมหากษัตริย์เพื่อทรงตราพระราชกฤษฎีกานั้น ๆ นายกรัฐมนตรี จะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากนั้นจึงนำไปประกาศในราชกิจจานุเบกษา บังคับใช้ต่อไป
ลำดับศักดิ์ของกฎหมาย
1. รัฐธรรมนูญ คำสั่งคณะปฏิวัติ  คำสั่งคสช. 
2. พระราชบัญญัติ
 3. พระราชกำหนด         
4. พระบรมราชโองการ กฎกระทรวง 
5. พระราชกฤษฎีกา 
6. กฎกระทรวง 
7. เทศบัญญัติ

3. แชร์กันสนั่น ครูโหดทุบหลังเด็กซ้ำ เหตุอ่านหนังสือไม่ได้
ตามรายงานระบุว่า ผู้ใช้เฟซบุ๊กชื่อ "กวดวิชา เตรียมทหาร" ได้แชร์ภาพและข้อความที่เกิดขึ้นกับเด็กชายคนหนึ่ง ภาพดังกล่าวเผยให้เห็นสภาพแผ่นหลังของเด็กที่มีรอยแดงช้ำ โดยเจ้าของภาพได้โพสต์ไว้ว่า
"วันนี้...ลูกชายวัย 6 ขวบ อยู่ชั้น ป.1 ถูกครูที่โรงเรียนตีหลังมา สภาพแย่มาก..(เหตุผลเพราะอ่านหนังสือไม่ค่อยได้) ซึ่งคนเป็นแม่อย่างเรา เห็นแล้วรับไม่ได้เลย มันเจ็บปวดมาก...มากจนไม่รู้จะพูดอย่างไรดี น้ำตาแห่งความเสียใจมันไหลไม่หยุด ถ้าเลือกได้ก็อยากจะเจ็บแทนลูกซะเอง พาลูกไปหาหมอ หมอบอกว่า แผลที่ร่างกายเด็กรักษาหายได้ แต่แผลที่จิตใจเด็กที่ถูกทำร้าย โดนครูทำแบบนี้ มันยากที่จะหาย บาดแผลนี้มันจะติดที่..หัวใจ..ของน้องตลอดไป" จากข้อความดังกล่าวในฐานะนักศึกษาเรียนวิชากฎหมายการศึกษาคิดอย่างไรที่จะไม่ให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว ซึ่งทุกคนจะต้องไปเป็นครูในอนาคตอันใกล้นี้  ให้อภิปรายแสดงความคิดเห็นปรากฏการดังกล่าวนี้
ปัจจุบันเกิดเหตุการณ์การใช้ความรุนแรงระหว่างครูกับนักเรียนมากขึ้นทุกวัน สาเหตุที่ครูใช้ความรุนแรง คือปัญหาอารมณ์จิตใจ ขาดทักษะการแก้ปัญหา อำนาจนิยมศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก วิเคราะห์สาเหตุที่ครูทำโทษด้วยความรุนแรง มี 2 สาเหตุ สาเหตุแรกครูผิดปกติด้านจิตใจและอารมณ์เมื่อเกิดความเครียดอาจระบายอารมณ์กับเด็กด้วยการตี หรือต่อว่า สาเหตุที่สองครูขาดทักษะการจัดการปัญหาเด็กครูจำนวนมากยังเชื่อว่าการลงโทษด้วยการตีเป็นวิธีที่ได้ผล นอกจากนี้ มีความคิดเห็นจากผู้ที่ทำงานด้านเด็ก มองว่า โรงเรียนส่วนใหญ่มีโครงสร้างแบบอำนาจนิยม ส่งผลให้ครูจำนวนมากมีพฤติกรรมใช้อำนาจกับเด็ก ประกอบกับการเรียนการสอนเป็นการสื่อสารทางเดียว จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ครูขาดทักษะการฟัง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเข้าใจผู้เรียน
การแก้ปัญหาและป้องกันการใช้ความรุนแรงในสถานศึกษา
พัฒนา ทดสอบ ความรู้ด้านจิตวิทยาและทักษะอารมณ์ ครูส่วนใหญ่มักลงโทษเด็กด้วยการตีหรือการดุด่า เพราะรับรู้วิธีนี้มาตั้งแต่เป็นนักเรียน ดังนั้น ศธ. ควรปรับปรุงการพัฒนาครู โดยเพิ่มเติมในเรื่องจิตวิทยาและทักษะอารมณ์ ตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษาครูก่อนประกอบวิชาชีพครู นักศึกษาควรได้รับการทดสอบความรู้จิตวิทยาและทักษะทางอารมณ์ หากใครไม่ผ่านจะไม่สามารถไปประกอบวิชาชีพครู และเมื่อมาเป็นครูประจำการ ควรมีการทดสอบและประเมินผลสภาพจิตใจและอารมณ์เป็นระยะ นอกจากนี้ ควรมีการสำรวจปัญหาที่เกิดขึ้นกับครู ซึ่งอาจส่งผลต่ออารมณ์ของครู เพื่อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้ครูระบายอารมณ์กับนักเรียนเมื่อเกิดความเครียด
ร่วมมือกับนักจิตวิทยาแก้ปัญหาและป้องกันใช้ความรุนแรงสถานศึกษาร่วมมือกับนักจิตวิทยา เพื่ออบรมครูแนะแนว ครูประจำชั้น และครูฝ่ายปกครอง ให้เข้าใจสภาพของผู้เรียน รวมถึงวิธีการแก้ปัญหาและการลงโทษที่ถูกต้องเหมาะสม
พัฒนาระบบการลงโทษในสถานศึกษาที่ได้มาตรฐาน สถานศึกษาควรมีระบบการลงโทษผู้เรียนที่ได้มาตรฐานและยุติธรรม โดยไม่ควรให้ครูคนใดคนหนึ่งเป็นผู้ตัดสินลงโทษนักเรียน แต่ควรมีหลายฝ่ายเข้าร่วมพิจารณา เช่น ผู้ปกครอง ครูประจำชั้น ครูแนะแนว เพื่อนสนิท นักจิตวิทยาในพื้นที่ ฯลฯ โดยปรับภาพลักษณ์ของครูฝ่ายปกครองที่มีความเอื้ออาทร พึ่งได้ และมีความยุติธรรม
แม้ว่าปัญหาเรื่องการทำร้ายร่างกายการใช้ความรุนแรงระหว่างครูกับนักเรียนจะไม่มีวันหมดไปจากสังคมไทย แต่ในฐานะที่เราเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องไปเป็นครูในอนาคต จึงมีหน้าที่ในการช่วยดูแลนักเรียนอย่างเต็มความสามารถ เราไม่ควรปล่อยให้อารมณ์เข้ามามีผลกระทบกับจิตใจมากจนเกินไป เพราะเด็ก ๆ เหล่านั้นล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยและเป็นอนาคตที่เราควรช่วยดูแลให้เขาเติบโตขึ้นมาอย่างมีคุณภาพ

4. ให้นักศึกษา สวอท.ตัวนักศึกษาว่าเราเป็นอย่างไร
จุดแข็ง (S)
1.       มองโลกในแง่ดี
2.       มีความอดทนค่อนข้างสูง
3.       ติดตามข่าวสาร เหตุการณ์ปัจจุบันอย่างต่อเนื่อง
4.       มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการทำงาน
5.       ชอบคิด ชอบวางแผน
จุดอ่อน (w)
1.ยึดติดในความคิดของตัวเองมากเกินไป
2.ขี้เกียจ และ ผัดวันประกันพรุ่ง
3. ไม่ค่อยมีความกล้าแสดงออก
4.ไม่อ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ
โอกาส (o)
1.สามารถนำทฤษฎีที่เรียนมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันได้
2.ได้เรียนรู้ภาษาอังกฤษ ในการแปล และศัพท์ใหม่ๆ
อุปสรรค (T)
1.ต้องใช้เวลาทำความเข้าใจบทเรียนเป็นเวลานาน ทำให้ไม่ทันเพื่อน
2. บรรยากาศมหาวิทยาลัยไม่เอื้อต่อการพัฒนาตนเองเท่าที่ควร

5. ให้นักศึกษาวิจารณ์อาจารย์ผู้สอนวิชานี้ในประเด็นการสอนเป็นอย่างไร บอกเหตุผล มีข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีในการเรียนการสอนวิชานี้อาจารย์ได้เปิดโอกาสในการเรียนรู้ที่เป็นอิสระ ทำให้สามารถกลับไปศึกษาเรียนรู้ได้ตลอดเวลา ได้ศึกษาจากแหล่งข้อมูลที่อาจารย์นำมารวบรวมไว้ในบล็อกเกอร์ และในการศึกษาในแต่ละบทนั้นมีคำถามทบทวนบทเรียน เพื่อทดสอบความเข้าใจอีกด้วย และชอบที่อาจารย์ให้คำแนะนำดี ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิต การวางตัว บทบาทหน้าที่ต่าง ๆที่เราควรทำเมื่อยู่ในโรงเรียน ซึ่งเป็นประโยชน์มาก ๆในอนาคต

ข้อเสียคือในบางครั้งที่ตอบคำถามทบทวนบทเรียนไม่ทราบว่าที่ได้ตอบไปนั้นเราเข้าใจถูกต้องหรือเปล่า จึงอยากให้อาจารย์ได้มาอธิบายเนื้อหาเพิ่มเติมในชั้นเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น