ยินดีต้อนรับสู่บล็อกของ นางสาวพิมพ์วิภา นาคปาน รหัส 5681114007

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

อนุทินที่ 2 ตอบคำถามจากบทเรียน


1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตในสังคมที่ต้องอาศัยอยู่ร่วมกัน ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทา ร้ายร่างกาย สาเหตุมาจาก ความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้น จึงจำเป็นต้องมี กฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นเกณฑ์ สร้างความสัมพันธ์เหล่านี้เราเรียกว่า บรรทัดฐานทางสังคม(Social Norm)  หากไม่มีกฎหมายก็จะไม่เกิดความสงบสุขในสังคม
2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายจะเป็นอย่างไร
สังคมจะเกิดความวุ่นวายอยู่กันอย่างสงบสุขไม่ได้หากไม่มีกฎหมาย เพราะกฎหมายเป็นสิ่งที่สร้างกฎระเบียบ ให้ผู้คนเคารพซึ่งกันและกัน หรือข้อควรปฏิบัติตามที่ควรจะทำเมื่อเราต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น
3. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายในประเด็นต่อไปนี้
ก. ความหมาย
กฎหมายคือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย์ จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้น ๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับ ที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย
ประกอบด้วย 4องค์ประกอบ สรุปได้คือ


1. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ อยู่ในรูปของคำสั่ง คำบัญชา อันเป็นการแสดงออกซึ่งความประสงค์ของผู้มีอำนาจในลักษณะเป็นการบังคับ เพื่อให้บุคคลอีกคนหนึ่งปฏิบัติหรืองดเว้นการปฏิบัติ
 2. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์  รัฎฐาธิปัตย์คือ ผู้ที่ประชาชนส่วนมากยอมรับนับถือว่าเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน โดยที่ไม่ต้องฟังอำนาจจากผู้ใครอีก
 3. กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไปต้องเป็นเรื่องที่เมื่อประกาศใช้แล้วจะมีผลบังคับเป็นการทั่วไป ไม่ใช่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ของบุคคลหนึ่ง หรือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดปฏิบัติตามเท่านั้น ไม่ว่าบุคคลนั้นจะมีอายุ เพศ หรือฐานะอย่างไรก็ตกอยู่ภายใต้ของการใช้บังคับกฎของกฎหมายอันเดียวกัน
4. กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม แม้ว่าการปฏิบัติบางครั้งอาจจะเกิดจากความไม่เต็มใจที่จะปฏิบัติ แต่หากเป็นคำสั่ง คำบัญชาแล้ว ผู้รับคำสั่ง คำบัญชา ต้องปฏิบัติตาม หากขัดขืนไม่ปฏิบัติตามก็จะเกิดสภาพบังคับของกฎหมาย อันเป็นผลร้ายต่อผู้ฝ่าฝืน
 ค. ที่มาของกฎหมาย
กฎหมายในแต่ละประเทศนั้นย่อมมีความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามประเทศไทยสามารถแบ่งได้เป็น 5 ที่มาดังนี้
        1. บทบัญญัติแห่งกฎหมายเป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่น กฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าว   ผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย    
        2. จารีตประเพณีเป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้ว ย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬาหากชกตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งคือแพทย์รักษาคนไข้ หากผ่าตัดขาแขนโดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิด เพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่ กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย  
        3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุก ๆ ศาสนาซึ่งสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทำร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนา และมีการลงโทษ 
        4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนำไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลัง ๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนำไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
        5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้นสมควรหรือไม่ จึงทำให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชนดังกล่าว เช่น กฎหมายลักษณะอาญาประกาศใช้ใหม่ ๆ บัญญัติว่า “การถืออาวุธในถนนหลวงไม่มีความผิดถ้าไม่มีกระสุน” ต่อมาพระบิดากฎหมายได้ทรงเขียนอธิบายเหตุผลว่า “การถืออาวุธในถนนหลวงควรมีข้อห้ามหรือเป็นความผิด” จึงได้แก้ไขกฎหมาย ดังกล่าว
ง. ประเภทของกฎหมาย
ได้มีนักวิชาการแบ่งประเภทของกฎหมายไว้หลากหลาย ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ในการแบ่ง ของแต่ละท่าน  การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน หากเราจะพิจาณาแบ่งประเภทของกฎหมายออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ สามารถแบ่งได้หลายลักษณะขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อะไรเป็นหลักในการแบ่ง ได้แก่ แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก
   1. กฎหมายภายใน เป็นหลักในการแบ่งย่อยออกไปได้อีก เช่น แบ่งโดยถือเนื้อหาเป็นหลัก เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรและกฎหมายที่ไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยถือสภาพบังคับกฎหมายเป็นหลัก เป็นกฎหมายอาญา และกฎหมายแพ่ง แบ่งโดยถือลักษณะเป็นหลัก แบ่งได้เป็นกฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ แบ่งโดยถือฐานะและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนเป็นเกณฑ์ แบ่งได้เป็น กฎหมายมหาชน  และกฎหมายเอกชน 
   2. กฎหมายภายนอก เป็นกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งกฎหมายระหว่างประเทศแบ่งตามลักษณะของฐานะความสัมพันธ์  เช่น แบ่งเป็นกฎหมาย ประเภทแผนกคดีเมือง  ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐ  กฎหมายระหว่างประเทศ แผนกคดีบุคคล  ส่วนที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐหนึ่งกับบุคคลในอีกรัฐหนึ่ง และ กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยข้อตกลงระหว่างรัฐในการร่วมมือ อย่างถ้อยทีถ้อยปฏิบัติในการปราบปรามอาชญาระหว่างประเทศและส่งตัวผู้ร้ายข้ามให้แก่กัน
ซึ่งการแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทย ขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่ว ๆ ไป ดังนี้   
ก. กฎหมายภายใน มีดังนี้ 
    1.  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
         1.1  กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร แบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมาย เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด  พระราชกฤษฎีกา  ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาหรือออกโดยองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นอาศัยอำนาจจากพระราชบัญญัติ เช่น เทศบัญญัติ  
      1.2  กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระบวนการนิติบัญญัติ  เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป    
    2.  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
         2.1  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 วรรคแรก บัญญัติโทษทางอาญา เช่น การประหารชีวิต จำกุม กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน สภาพบังคับทางอาญาจึงเป็นโทษอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง ใช้ลงโทษกับผู้กระทำผิดทางอาญา     
         2.2  กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง  ได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่าง ๆ กันไว้ สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้  เช่น  การกำหนดให้เป็นโมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม  การบังคับให้ชำระหนี้  การให้ชดใช้ค่าเสียหาย  หรือการที่กฎหมาย บังคับให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อความเป็นธรรม อนึ่งสำหรับสภาพบังคับทั้งทางอาญาและทางแพ่งควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์  พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค และพระราชบัญญัติการล้มละลาย อีกทั้ง ยังมีสภาพบังคับทางปกครองอีก ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง  พ.ศ. 2539 
    3. กฎหมายสารบัญญัติ  และกฎหมายวิธิสบัญญัติ
        3.1 กฎหมายสารบัญญัติ  แบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก กล่าวถึงการกระทำที่กฎหมายกำหนดเป็นองค์ประกอบแห่งความผิด  หรือเป็นสิทธิ หน้าที่และความรับผิดชอบ ของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กฎหมายประสงค์จะควบคุมหรือคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน ซึ่งจะก่อให้เกิดผล มีสภาพบังคับที่รัฐหรือผู้มีอำนาจบังคับให้เป็นไปตามกฎหมายเป็นผู้กำหนด   การกระทำผิด เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเข้าลักษณะองค์ประกอบความผิดตามบทกฎหมาย กฎหมายที่กำหนดองค์ประกอบความผิด  และกำหนดความร้ายแรงแห่งโทษจึงเป็นกฎหมายสารบัญญัติ เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชเกือบทุกมาตรา เป็นกฎหมายสารบัญญัติ
        3.2  กฎหมายวิธีสบัญญัติ  กล่าวถึง วิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา  ซึ่งในประมวลกฎหมายนี้ กำหนดตั้งแต่อำนาจหน้าที่ของ เจ้าพนักงานของรัฐในการดำเนินคดีทางอาญา การร้องทุกข์ การกล่าวโทษว่ามีการกระทำผิดอาญาเกิดขึ้น การสอบสวนคดีโดยเจ้าพนักงาน การฟ้องร้องคดีต่อศาล การพิจารณาคดี และการพิจารณา คดีในศาล  การลงโทษแก่ผู้กระทำผิดสำหรับคดีแพ่ง กฎหมายวิธีการพิจารณาความแพ่งจะกำหนดขั้นตอนต่าง ๆ ไว้เป็นวิธีการดำเนินคดี เริ่มตั้งแต่ฟ้องคดีเรื่อยไปจนถึงศาลพิจารณาคดีและบังคับให้ เป็นไปตามคำพิพากษา      
ยังมีกฎหมายบางฉบับที่มีทั้งที่เป็นสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติทำให้ยากที่จะแบ่งว่าเป็น ประเภทใด  เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย มีทั้งหลักเกณฑ์องค์ประกอบและวิธีการดำเนินคดี ล้มละลายรวมอยู่ด้วย การที่จะเป็นไปกฎหมายประเภทใดให้ดูว่าสาระนั้นหนักไปทางใดมากกว่ากัน  
    4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
        4.1 กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชน รัฐ เป็นผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม เป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคม  คือ กฎหมายมหาชน  ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ  กำหนดระเบียบ แบบแผนการใช้อำนาจอธิปไตย  กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน  กฎหมายปกครอง กำหนดการแบ่งส่วนราชการเพื่อบริหารประเทศ  และการบริการสาธารณะด้านต่าง ๆ แก่ประชาชน กฎหมายอาญาเพื่อคุ้มครองความสงบในสังคม  รัฐต้องลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนและกระทำผิด สำหรับวิธี และขั้นตอนที่จะเอาคนมาลงโทษทางอาญา บัญญัติไว้ในกฎหมายวิธีการพิจารณาความอาญา และพระบัญญัติอื่น ๆ  เป็นกฎหมายที่ควบคุมและคุ้มครองสังคมให้เกิดความสงบสุขและเป็นธรรม
        4.2  กฎหมายเอกชน  เป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกัน  เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์  และพระราชบัญญัติบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด เปิดโอกาสให้ประชาชนสร้างความสัมพันธ์เชิงกฎหมายระหว่างกันในรูปของการทำนิติกรรมสัญญา มีผลต่อคู่กรณีให้มีกฎหมายคุ้มครองทั้ง 2 ฝ่ายมีผลผูกพันโดยการทำสัญญา ปฏิบัติตาม กฎหมายครบทุกประการ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ ย่อมถูกฟ้องบังคับให้ปฏิบัติตามได้ 
ข. กฎหมายภายนอก มีดังนี้
    1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ต่อรัฐในการที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน  ในฐานะที่รัฐเป็นนิติบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งมีเกณฑ์กำหนดกล่าวคือ
         1) ประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ปึกแผ่น เรียกว่า พลเมือง 
         2)  ต้องมีดินแดนหรืออาณาเขตที่แน่นอน 
         3) มีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน 
         4) เป็นเอกราช
         5) มีอธิปไตย  เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ  สนธิสัญญา  ข้อตกลงการค้าโลก  กฎหมายที่เป็นจารีต ประเพณีที่ยึดถือปฏิบัติกันมานาน รัฐทุกรัฐต่างเห็นชอบ เช่น หลักการแต่งตั้งเอกอัครราชทูต       เอกสิทธิในทางการทูต
    2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  เป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรัฐต่างรัฐ  เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย เป็นการบังคับความสัมพันธ์ของบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยกับบุคคลที่อยู่ในรัฐอื่น ๆ  
    3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา  เป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลง ยอมรับให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอกประเทศนั้นได้  เช่น  สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไร ว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบและความสงบเรียบร้อยให้กับสังคมและประเทศชาติ เมื่ออยู่รวมกันเป็นสังคมทุกคนจำเป็นต้องมีบรรทัดฐาน ซึ่งเป็นแนวทางปฎิบัติยึดถือเพื่อความสงบเรียบร้อย สร้างความเป็นปึกแผ่นของกลุ่ม
5. สภาพบังคับในทางกฎหมายท่านมีความเข้าใจอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่งได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ
6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ความเหมือนของกฎหมายทางอาญาและทางแพ่ง คือ เป็นกฎหมายภายในและสามารถควบคู่กันไปก็ได้ เช่น กฎหมายที่ดิน  สำหรับความต่าง คือ  กฎหมายทางอาญาจะมีโทษการประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน ส่วนกฎหมายทางแพ่งเป็นการกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไร จงอธิบาย
ระบบของกฎหมาย (Legal System) หรือ สกุลของกฎหมาย (Legal Family) เป็นความพยายามของนักกฎหมาย ที่จะจับกลุ่มของกฎหมายที่มีใช้อยู่ในประเทศต่าง ๆ ในโลก ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งในปัจจุบันนี้ระบบกฎหมายอาจแบ่งออกได้เป็น 4 ระบบ คือ
1.ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์(Civil Law) คือระบบกฎหมายแบบลายลักษณ์อักษร จุดกำเนิดอยู่ที่อาณาจักรโรมัน ระบบกฎหมายนี้จะมีลักษณะเป็นการรวมเอาจารีตประเภณีหรือกฎหมายต่างๆหรือบัญญัติกฎหมายขึ้นใหม่โดยบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดไว้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระเบียบซึ่งเรียกว่าประมวลกฎหมาย ซึ่งแต่เดิมนั้นไม่มีการบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร ชนชั้นที่ถูกปกครองในโรมันจึงมีการเรียกร้องให้ชนชั้นสูงทำการเขียนกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้ชนชั้นที่ถูกปกครองได้รู้กฎหมายด้วย ซึ่งระบบกฎหมายนี้ก็ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันในประเทศไทยก็ใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ ตัวอย่างก็เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประมวลกฎหมายอาญา ฯลฯ
2.ระบบกฎหมายคอมมอน ลอว์(Common Law) คือระบบกฎหมายจารีตประเพณี จุดกำเนิดอยู่ที่อังกฤษ เนื่องจากแต่เดิมนั้นประเทศอังกฤษมีชนเผ่าอยู่มากมายหลายชนเผ่าด้วยกัน ต่อมาได้มีการจัดตั้งศาลหลวงหรือศาลพระมหากษัตริย์ขึ้น โดยคัดเลือกผู้พิพากษาที่มีความรู้จากส่วนกลางไปพิจารณาคดีในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งแต่ละชนเผ่าก็มีจารีตประเพณีที่แตกต่างกันออกไป ทำให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีมากมาย แต่ในภายหลังปัญหาก็ค่อยๆหมดไปเพราะเริ่มมีจารีตประเพณีที่มีลักษณะเป็นสามัญขึ้นโดยศาลหลวงได้ใช้จารีตประเพณีเหล่านี้ในการพิจารณาคดี ในระบบคอมมอน ลอว์ แต่เดิมจะไม่มีการบัญญัติกฎหมายไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เมื่อศาลใช้จารีตประเพณีในการพิพากษาตัดสินคดีแล้ว ก็จะมีการบันทึกคำพิพากษานั้นเอาไว้ เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาคดีต่อๆไป หาข้อเท็จจริงในคดีต่อๆมาเหมือนกับคดีก่อน ศาลก็จะพิพากษาไปตามที่ได้มีการบันทึกไว้แล้ว ถือได้ว่าคำพิพากษาของศาลก็คือกฎหมายนั่นเอง แต่ปัจจุบันนี้ในประเทศอังกฤษก็ใช้ทั้งระบบกฎหมายแบบซีวิล ลอว์และคอมมอน ลอว์ ควบคู่กันไป
3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม(Socialist Law) จุดกำเนิดของระบบกฎหมายนี้อยู่ที่รัสเซีย แต่เดิมรัสเซียใช้ระบบกฎหมายซีวิล ลอว์ แต่ในภายหลังเมื่อพรรคคอมมิวนิสต์ครองอำนาจ ก็ได้มีการนำหลักการและแนวความคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน มาใช้โดยเชื่อว่ากฎหมายเป็นเครื่องมือในการขัดระเบียบและกลไกในสังคม เพื่อให้คนในสังคมมีความเท่าเทียมกัน ปราศจากการกดขี่ข่มเหง ปราศจากชนชั้นวรรณะ ประชาชนทุกคนเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดร่วมกัน กฎหมายมีอยู่เพื่อความเท่าเทียม เมื่อใดที่สังคมเกิดความเท่าเทียมกันแล้วกฎหมายก็ไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ส่วนลักษณะของกฎหมายสังคมนิยมนั้นจะมีการผสมผสานระหว่างกฎหมายลายลักษณ์อักษรกับจารีตประเพณีเข้าด้วยกัน โดยมีการบัญญัติกฎหมายเป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนจารีตประเพณีนั้นเป็นตัวช่วยในการตีความและอุดช่องว่างของกฎหมายเมื่อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และที่สำคัญก็คือกฎหมายในระบบสังคมนิยมนั้นต้องแฝงหลักการหรือแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์ และ เลนิน ด้วยเสมอ
4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเภณีนิยม ลักษณะของกฎหมายในระบบนี้ โดยเนื้อหาของกฎหมายแล้วก็จะอาศัยศาสนาหรือประเภณีนิยมเป็นฐานในการบัญญัติกฎหมายขึ้นมา เช่น กฎหมายศาสนาอิสลามกำหนดหน้าที่ของชาวมุสลิมที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า  ในปัจจุบันประเทศที่นับถือศาสนาอิสลาม กฎหมายอิสลามมีส่วนสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับครอบครัวและมรดก แต่ส่วนกฎหมายในเรื่องอื่นๆก็จะใช้แนวทางของกฎหมายของทางโลกตะวันตก หรือใน 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่จังหวัดสตูล ยะลา ปัตตานี นราธิวาส ในเรื่องครอบครัวและมรดกก็จะต้องนำกฎหมายศาสนาอิสลามมาใช้บังคับ ซึ่งถือเป็นข้อยกเว้นเฉพาะ 4 จังหวัดดังกล่าวเท่านั้น  ส่วนในเรื่องอื่นๆทุกจังหวัดก็จะใช้กฎหมายฉบับเดียวกันรวมไปถึง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เป็นต้น
ส่วนประเภณีนิยมนั้น คือ สิ่งที่คนในสังคมยอมรับและปฏิบัติสืบต่อกันมา เช่นในประเทศจีนก็มีการนำประเภณีนิยมของนักปราชญ์อย่าง ขงจื้อ มาเป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมาย หรือประเภณีโบราณของลัทธิชินโตก็ใช้เป็นแนวทางในการบัญญัติกฎหมายในประเทศญี่ปุ่นด้วยเช่นกัน ฯลฯ

8.  ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้าง ยกตัวอย่างอธิบาย
แบ่งโดยแหล่งกำเนิด อาจแบ่งออกได้เป็นกฎหมายภายในและกฎหมายภายนอก  ประเภทของกฎหมายแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ ประมวลกฎหมายต่าง ๆ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา
1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษร  เช่น จารีตประเพณี หลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา และกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง
2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญา  เช่น การประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ หรือริบทรัพย์สิน
2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง  เช่น การกำหนดให้เป็น โมฆะกรรมหรือโมฆียกรรม การบังคับให้ชำระหนี้ การให้ชดใช้ค่าเสียหาย
3. กฎหมายสารบัญญัติ และกฎหมายวิธีสบัญญัติ
3.1 กฎหมายสารบัญญัติ  เช่น ตัวบทกฎหมายในประมวลกฎหมายอาญาและในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิช
3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติ  เช่น พระราชบัญญัติล้มละลาย
4. กฎหมายมหาชน และกฎหมายเอกชน
4.1 กฎหมายมหาชน  เช่น  กฎหมายรัฐธรรมนูญ กำหนดระเบียบแบบแผนการใช้อานาจอธิปไตย กำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน
4.2 กฎหมายเอกชน  เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และพระราชบัญญัติบางฉบับ

                กฎหมายภายนอก
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง  เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ สนธิสัญญา ข้อตกลงการค้าโลก
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล  เช่น พระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดแย้งแห่งกฎหมาย
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา  เช่น สนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดน
9.  ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ศักดิ์ของกฎหมาย  คือ  ลำดับชั้นของกฎหมายหรืออีกนัยหนึ่งคือ ลำดับความสูงต่ำของกฎหมายที่ไม่เท่าเทียมกัน ซึ่งความไม่เท่าเทียมกันของกฎหมายแต่ละฉบับนั้น พิจารณาได้จากองค์กรที่มีอำนาจในการออกกฎหมาย หมายความว่ากฎหมายแต่ละฉบับจะมีชั้นของกฎหมายในระดับนั้น  ให้พิจารณาจากองค์กรที่ออกกฎหมายฉบับนั้น 
การจัดแบ่งลำดับชั้นของกฎหมายไทยสามารถจัดแบ่งลำดับชั้น  ออกเป็น  7  ประเภท  ดังนี้
            1.  รัฐธรรมนูญ  เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  กฎหมายใดขัดแย้งไม่ได้  โดยจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้อำนาจอธิปไตย  ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง  สิทธิเสรีภาพของประชาชน
            2.  พระราชบัญญัติ  ประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่รัฐสภาตราขึ้น
            3.  พระราชกำหนด  เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี ตามบท บัญญัติในรัฐธรรมนูญใช้ในกรณีจำเป็นรีบด่วนหรือเรื่องที่จะรักษาความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ  ความปลอดภัยของประเทศ  แต่ต้องเสนอต่อรัฐสภาโดยเร็ว
            4.  พระราชกฤษฎีกา  เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นโดยพระมหากษัตริย์ตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรี  เพื่อกำหนดรายละเอียดตามพระราชบัญญัติที่กำหนดไว้
            5.  กฎกระทรวง  เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีตราขึ้นผ่านคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนด
            6.  ข้อบังคับหรือข้อบัญญัติ เป็นกฎหมายขององค์กรปกครองท้องถิ่น เช่น เทศบาล กรุงเทพมหานคร     เมืองพัทยา เป็นต้น
            7.  ประกาศคำสั่ง  เป็นกฎหมายเฉพาะกิจ  เช่น พระบรมราชโองการ ประกาศคณะปฎิวัติ  คำสั่งหน่วยงานราชการ  เป็นต้น
10. เหตุการณ์ เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้า และประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบ แต่ปรากฏว่า รัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุม และขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายเหตุผลว่า รัฐบาลกระทำผิดหรือไม่
ผิดทั้งฝ่ายประชาชนที่มาชุมนุมและฝ่ายรัฐบาล   เพราะรัฐบาลได้ประกาศว่าลานพระบรมรูปทรงม้าเป็นพื้นที่ห้ามชุมนุม ประชาชนก็ควรจะปฏิบัติตามกฏ แต่ในขณะเดียวกัน รัฐบาลก็ขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบ ลงมือทำร้ายร่างกายประชาชน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะจะเกิดปัญหาความขัดแย้งตามมาอีกมากมาย
11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คำว่า กฎหมายการศึกษาอย่างไร จงอธิบาย
กฎหมายการศึกษาคือ บทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นและมีผลบังคับใช้
12.  ในฐานะที่นักศึกษาจะต้องเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายท่านคิดว่า เมื่อท่านไปประกอบอาชีพครู จะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไรบ้าง


กฎหมายทางการศึกษาเป็นตัวช่วยป้องกันสิทธิทั้งของตัวครูและนักเรียน จึงเป็นเรื่องดีที่ควรศึกษาไว้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น